“ประกาศเตือนฝีดาษลิง: สายพันธุ์ 1B อันตรายสูง พบผู้ป่วยต้องสงสัยในไทย พร้อมคาดการณ์ผลตรวจ”

‘หมอยง’ เผย ‘ฝีดาษลิง’ ระบาดช่วงนี้มี 2 สายพันธุ์ ติดต่อง่ายรุนแรงต่างกัน... เมื่อวันที่ 22 ส.ค. ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊กในหัวข้อ “ฝีดาษวานร MPOX การแบ่งแยกชนิดสายพันธุ์ของฝีดาษวานร Mpox” ระบุว่า ในปัจจุบันจากการถอดรหัส DNA จะแยกฝีดาษวานร เป็น 2 กลุ่ม (Clade) คือกลุ่มหนึ่งและกลุ่ม 2 สายพันธุ์ที่ระบาดในแอฟริกาส่วนใหญ่
จะเป็นกลุ่มที่ 1 และการระบาดนอกแอฟริกาส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มที่ 2 ทั้งกลุ่ม 1 และกลุ่ม 2 ยังแยกเป็นกลุ่มย่อย a และ b การระบาดนอกแอฟริกาจะเป็นสายพันธุ์กลุ่ม 2b... เมื่อเร็วๆ นี้ มีการระบาดพบผู้ป่วยจำนวนมาก ในสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก มีผู้ป่วยที่ต้องสงสัยและยืนยันถึงปัจจุบันร่วม 20,000 รายแล้ว และมีผู้เสียชีวิต อยู่ในอัตราถึงร้อยละ 3 ถึง 4 สายพันธุ์ที่พบเป็นสายพันธุ์กลุ่ม 1b แสดงให้เห็นว่าสายพันธุ์นี้ สามารถติดต่อกันได้ง่าย และมีความรุนแรงสูง พบ
กว่าครึ่งหนึ่งเป็นเด็ก และผู้ที่เสียชีวิตส่วนใหญ่ก็เป็นเด็กที่มีร่างกายอ่อนแอ จึงทำให้ต้องเฝ้าระวังและเกิดความกังวล องค์การอนามัยโลกจึงประกาศเป็นภาวะฉุกเฉินโรคระหว่างประเทศ ที่น่ากังวล และต้องเฝ้าระวัง
ฝีดาษวานร เชื้อสายพันธุ์ใหม่ 1b ระบาดในแอฟริกา ที่สร้างความกังวลและต้องเฝ้าระวัง หลังจากระบาดในสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก โรคนี้ได้แพร่กระจายในแอฟริการ่วม 10 ประเทศ การติดต่อของโรคจะแตกต่างกับสายพันธุ์ 2b ที่ระบาดนอกแอฟริกา... สายพันธุ์ 1b แพร่กระจายและติดต่อได้ง่าย จึงพบได้ในเด็ก และเพศหญิง ไม่เหมือนกับสายพันธุ์ 2b ที่ติดต่อได้ยากกว่า ส่วนใหญ่จะพบในเพศชาย วัยหนุ่มถึงกลางคน โดยการสัมผัสอย่างใกล้ชิด หรือมีเพศสัมพันธ์กับผู้
ป่วย...ไทยพบผู้ป่วย "ฝีดาษลิง" รอผลตรวจยืนยันสายพันธุ์ Clade 1Bอัปเดต "ผู้ป่วยสงสัยฝีดาษลิง เคลดวันบี"รายแรกไทย ติดตาม 43 คน สัมผัสใกล้ชิดเมื่อวันที่ 21 ส.ค.2567 ที่กรมควบคุมโรค นพ.ธงชัย กีรติหัตถยากร อธิบดีกรมควบคุมโรค(คร.) แถลงข่าวการพบผู้ป่วยสงสัยป่วยโรคเอ็มพอกซ์ หรือ ฝีดาษวานร หรือฝีดาษลิง เคลดวันบี (Clade 1B) ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่องค์การอนามัยโลก(WHO)ประกาศให้เป็นภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ และไม่เคยพบสาย
พันธุ์นี้ในประเทศไทยมาก่อนว่า ณ วันที่ 21 ส.ค.2567 ผู้ป่วยรายนี้ยังไม่ถือว่าเป็นผู้ป่วยยืนยันฝีดาษวานร เคลดวันบี 100 % ซึ่งผลยืนยันทางห้องปฏิบัติการจาก 4 แห่ง คาดว่าจะทราบผลในวันที่ 23 ส.ค.นี้
ผู้ป่วยต้องสงสัยรายนี้ เป็นชายชายยุโรป อายุ 66 ปี เดินทางจากประเทศในทวีปแอฟริกาซึ่งเป็นพื้นที่ระบาดของฝีดาษวานร เคลดวันบี มาต่อเครื่องที่ตะวันออกกลางก่อนเดินทางเข้าประเทศไทยเมื่อวันที่ 14 ส.ค.2567 เวลา 18.00 น. มีบ้านพักในประเทศไทย
หลังจากนั้นวันที่ 15 ส.ค.เช้า ผู้ป่วยเริ่มมีไข้ มีตุ่มขึ้นมาเล็กน้อย เลยไปตรวจที่โรงพยาบาล ซักประวัติสงสัยเข้าได้กับ ฝีดาษลิง จึงตรวจหาสายพันธุ์เคลด 2 แต่ผลเป็นลบ เมื่อตรวจสายพันธุ์เคลดวันบี ปรากฎให้ผลไม่ชัดเจน จึงมีการส่งตรวจยืนยัน โดยวิธี Rt-PCRอีกครั้งเพื่อยืนยันผล ถ้ายืนยันก็ถือว่าเป็นผู้ป่วยฝีดาษวานร เคลดวันบีรายแรกที่ประเทศไทยตรวจเจอผู้ป่วยต้องสงสัยรายนี้เชื่อได้ว่าเป็นฝีดาษลิงแน่นอน และมาจากประเทศที่มีการระบาดของเคลดวันบี อาการล่าสุดดี ยัง
ไม่รุนแรง แม้ผลยังไม่ยืนยัน 100 % ว่าเป็นฝีดาษวานร เคลดวันบี แต่ทีมสอบสวนโรคได้มีระบบในการติดตามผู้สัมผัสใกล้ชิด คนนั่งเครื่องบินเดียวกัน 2 แถวใกล้ชิดผู้ป่วยสงสัยรายนี้ มีรายชื่อทั้งหมดแล้ว รวม 43 คน ทั้งไทยและต่างชาติยังไม่มีอาการป่วย ติดตามคนสัมผัสประมาณ 21 วัน แต่ไม่จำเป็นต้องกักตัว แต่แจ้งให้ทราบว่าหากมีอาการป่วยให้รีบไปพบแพทย์และแจ้งเจ้าหน้าที่นพ.ธงชัย กล่าวด้วยว่า ก่อนหน้านี้กรมได้ยกระดับมาตรการเฝ้าระวังฝีดาษลิง หรือ ฝีดาษวานร
เคลดวันบีไปแล้ว โดยการเข้มตรวคัดกรองผู้ที่เดินทางมาจากประเทศพื้นที่ระบาด ณ ด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศ ภายในสนามบินระหว่างประเทศทุกแห่ง ซึ่งทุกคนที่เดินทางมาจาก 42 ประเทศที่ไทยกำหนดให้เป็นเขตติดโรคไข้เหลือง จะต้องรายงานและแสดงตัวกับเจ้าหน้าที่ที่ด่านอยู่แล้ว วัดไข้ ดูอาการ ซักถามประวัติ และเริ่มประสานสายการบินในการตรวจสอบ คัดกรองผู้เดินทางเข้าประเทศไทยโดยมีการเปลี่ยนเครื่องที่ประเทศอื่นก่อน ซึ่งพื้นที่ระบาดของฝีดาษวานร
เคลดวันบี ก็อยู่ในกลุ่ม 42 ประเทศนี้ด้วย สถานการณ์ฝีดาษลิงหรือฝีดาษวานรในประเทศไทยตอนนี้ กรมยังไม่ต้องยกระดับมาตรการเพิ่มเติมเพียงแต่ให้เข้มมาตรการมากขึ้น และยังไม่เปิดระบบศูนย์ปฏิบัติการด้านการแพทย์และสาธารณสุข(อีโอซี)ระดับกรมควบคุมโรค จะยกระดับเมื่อมีการพบว่ามีการติดเชื้อเป็นรุ่น 2 หรือพบผู้ป่วยจากการติดภายในประเทศ ซึ่งปัจจุบันไทยจัดให้ฝีดาษวานรเป็นโรคที่ต้องเฝ้าระวังเช่นเดียวกับอีก 56 โรค
“ประเมินความเสี่ยงของประเทศไทยขณะนี้ต่ำมาก แต่ไทยจะพบผู้ป่วยฝีดาษลิงหรือฝีดาษวานร เคลดวันบีแน่นอน แต่ที่จะเข้ามาเมื่อไหร่เท่านั้น เพราะโรคนี้มากับการเดินทางของคน เหมือนกับสายพันธ์เคลด 2 ที่องค์การอนามัยโลกประกาศเมื่อปี 2565 แล้วต่อมาก็พบผู้ป่วยสายพันธุ์นี้ในไทย ทว่า เชื่อว่าฝีดาษวานรไม่มีทางระบาดเหมือนโควิด เพราะตัวเชื้อการติดไม่ได้ง่าย วิธีการติดจะต้องสัมผัสใกล้ชิดกันมาก แตะผิวหนัง แตะตัว ขนาดน้ำลายก็จะต้องใกล้และมีปริมาณพอ
สมควร”นพ.ธงชัยกล่าว
วิธีการป้องกันฝีดาษลิง
ทั้งนี้ ผู้ที่จะเดินทางไปประเทศแถบแอฟริกา ควรต้องติดตามว่าประเทศเหล่านั้นมีการระบาดหรือไม่ และควรระมัดระวังการสัมผัสใกล้ชิด หมั่นสังเกตอาการตนเอง ถ้ามีอาการไข้ เจ็บคอ ปวดศีรษะปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ปวดหลัง หรือเริ่มสังเกตเห็นมีผื่นขึ้นตามร่างกายเป็นตุ่มน้ำใส หรือ ตุ่มหนอง ควรไปพบแพทย์ เพื่อการวินิจฉัยรักษาตั้งแต่ต้น
กรมควบคุมโรค มีการเฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์ โรคฝีดาษวานร หรือฝีดาษลิง รวมถึงโรคอุบัติใหม่ อุบัติซ้ำอื่นๆ อย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะสายพันธุ์ใหม่ๆ อาจมีโอกาสพบผู้ที่เดินทางมาจากต่างประเทศที่มีอาการสงสัยหรือแพร่โรคได้ จึงขอเน้นย้ำการป้องกันโรคฝีดาษวานร ดังนี้
1.หลีกเลี่ยงการอยู่ในที่แออัด หรือคนพลุกพล่าน หลีกเลี่ยงการสัมผัสใกล้ชิด และทำความสะอาดบริเวณพื้นผิวจุดสัมผัสร่วมสม่ำเสมอ
2.หมั่นล้างมือด้วยสบู่หรือเจลแอลกอฮอล์ ไม่ใช้สิ่งของส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น
3.หากผู้ที่มีอาการสงสัย สามารถขอเข้ารับการตรวจหาเชื้อได้ที่สถานพยาบาลใกล้บ้านทุกแห่ง หากมีข้อสงสัยให้ติดต่อสายด่วน 1422 กรมควบคุมโรค
วันนี้ (21 ส.ค.2567) นพ.ธงชัย กีรติหัตถยากร อธิบดีกรมควบคุมโรค แถลงข่าวกรณีพบผู้ป่วยสงสัยฝีดาษลิง สายพันธุ์ Clade 1 คนแรกในประเทศไทย
อธิบดีกรมควบคุมโรค ระบุว่า การแถลงข่าววันนี้ไม่ใช่การยืนยันว่าพบผู้ป่วยฝีดาษลิงสายพันธุ์ Clade 1B แต่เป็นผู้ป่วยต้องสงสัยฝีดาษลิงเท่านั้น ขณะนี้ยังไม่ได้ยืนยัน 100% แต่ค่อนข้างเชื่อได้ว่าอาจจะเป็นฝีดาษลิง
ผู้ป่วยคนดังกล่าวเป็นชาวยุโรป เพศชาย อายุ 66 ปี เดินทางมาจากประเทศในแถบแอฟริกาที่พบการระบาดของฝีดาษลิงสายพันธุ์ Clade 1B โดยมีการต่อเครื่องในประเทศแถบตะวันออกกลาง ก่อนเดินทางเข้าประเทศไทยเมื่อวันที่ 14 ส.ค.ที่ผ่านมา เวลาประมาณ 18.00 น.
จากนั้นวันที่ 15 ส.ค. ผู้ป่วยเริ่มมีอาการไข้ มีตุ่มขึ้นเล็กน้อยจึงเดินทางไปโรงพยาบาล เมื่อโรงพยาบาลซักประวัติได้มีการตรวจฝีดาษลิงสายพันธุ์ Clade 2 ปรากฏผลลบ ส่วนการตรวจสายพันธุ์ Clade 1B ปรากฏว่าผลไม่ชัดเจน โดยมีการตรวจยืนยันอีกว่าใช่ฝีดาษลิงหรือไม่ด้วยการใช้ยีนส์ ซึ่งพบว่าเป็นฝีดาษลิงอย่างแน่นอน แต่ขณะนี้ยังไม่ใช่สายพันธุ์ Clade 2 ส่วนสายพันธุ์ Clade 1B ก็ยังไม่ชัดเจน จึงต้องมีการไล่ยีนส์ตรวจซ้ำอีกครั้งว่าใช่สายพันธุ์ Clade 1B หรือไม่
- เริ่มแล้ว เช็กสิทธิ์ รับเงิน 10,000 เฟส 2 อายุ 60 ปีขึ้นไป เริ่มโอนเงิน 27 ม.ค. 68
- บี้ กทม. ซ่อม “ศูนย์กีฬา” เสื่อมโทรม ห่วงความปลอดภัยผู้ใช้บริการ เล็งให้เอกชนร่วมบริหาร
- ไม่เสี่ยงเบาหวานขณะตั้งครรภ์ เพียงกิน 7 อาหารน้ำตาลต่ำต้านการอักเสบ
- "เบาหวานเปียก" กับ "เบาหวานแห้ง" คืออะไร แตกต่างกันอย่างไร
- "เอมี่" จัดทริปฉลองวันเกิดขึ้นเลข 4 ให้เพื่อนรัก สองสาวทริปนี้แซ่บมาก