“วิกฤตน้ำท่วมเชียงรายครั้งใหญ่ในรอบ 30 ปี! น้ำสูงเกือบมิดหลังคา บ้านเรือนจมใต้ระดับน้ำ”

เปิดภาพ น้ำท่วมเชียงราย อ.เทิง ครั้งใหญ่ในรอบ 30 ปี ระดับน้ำสูงเกือบมิดหลังคาเปิดภาพ น้ำท่วมเชียงราย อ.เทิง ครั้งใหญ่ในรอบ 30 ปีระดับน้ำสูงเกือบมิดหลังคา

หลังจากที่ฝนตกหนักต่อเนื่องมาหลายวัน ส่งผลให้น้ำป่าจากเทือกเขาชายแดนไทย-สปป.ลาว ไหลทะลัก เข้าหลายพื้นที่ใน อ.เทิง และ อ.เวียงแก่น จ.เชียงราย

21 สิงหาคม 2567 เฟซบุ๊ก สมาคมตอบโต้ภัยพิบัติ ประเทศไทย โพสต์ภาพน้ำท่วมบ้านเรือนประชาชนใน จ.เชียงราย ระดับน้ำสูงเกือบมิดหลังคาบ้านชั้นเดียว พร้อมระบุข้อความว่า น้ำป่าไหลหลากเอ่อล้นตลิ่งท่วมบ้านพี่น้องประชาชนสองฝั่งแม่น้ำหงาว บริเวณซอย 1 หมู่ 4 บ.ศาลาวาส อ.เทิง จ.เชียงราย พี่น้องประชาชนได้รับผลกระทบอย่างหนัก พร้อมระบุด้วยว่า น้ำท่วมใหญ่ในครั้งนี้หนักในรอบ 30 ปีทางด้านสำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดเชียงราย ได้เผยแพร่ ประกาศ

สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ฉบับที่ 11 เฝ้าระวัง - น้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ช่วงวันที่ 24 - 30 ส.ค. นี้

จังหวัดเชียงราย ได้แก่ อำเกอเมืองเชียงราย แม่สาย เชียงแสน เวียงแก่น ขุนตาล พญาเม็งราย เวียงชัย เทิง และอำเภอแม่ลาวนักเขียนดังแนะเลิกยกน้ำท่วมปี 54 เป็นมาตรฐานน้ำท่วมไทย ชี้เชียงรายคือโมเดลของจริง“ภาณุ ตรัยเวช” นักเขียนชื่อดัง โพสต์เฟซบุ๊ก ชี้ เลิกเอาน้ำท่วมปี 54 เป็นมาตรฐานน้ำท่วมประเทศไทย หากปีไหนไม่ท่วมขนาดนั้นก็จะสรุปว่าน้ำไม่ท่วม ยก น้ำท่วมเชียงราย คือปัญหาน้ำท่วมจริงๆ ถึงเวลากระจายอำนาจลงท้องถิ่น ไม่ใช่รอแต่ส่วนกลาง

จากเหตุการณ์ ฝนที่ตกลงมาอย่างต่อเนื่องติดต่อกันมาหลายวันได้ทำให้น้ำป่าบนเทือกเขาชายแดนไทย-สปป.ลาว ด้าน อ.เทิง-อ.เวียงแก่น จ.เชียงราย ไหลทะลักลงสู่ลำน้ำหงาว ที่เอ่อล้นอยู่แล้วจนทะลักเข้าท่วมหนักในหมู่บ้านหลายพื้นที่ใน จาก.เชียงราย

อย่างไรก็ตาม วันนี้ ( 22 ส.ค.) “ภาณุ ตรัยเวช” นักเขียนชื่อดัง และอดีตตัวแทนนักเรียนไทยที่ไปแข่งขันวิชาฟิสิกส์โอลิมปิกถึง 3 สมัยได้ออกมาโพสต์ข้อความลงในเฟซบุ๊กส่วนตัว เกี่ยวกับเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่ใน จ.เชียงราย ครั้งนี้ โดยได้ระบุข้อความว่า

“ตอนแรกจะรอให้น้ำลดก่อนแล้วค่อยเขียน แต่เขียนเลยละกัน สังคมไทยต้องหยุดเอา น้ำท่วมปี 54 เป็นมาตรฐานของ "น้ำท่วม" แล้วเอาเหตุการณ์น้ำท่วมเชียงรายแบบนี้ต่างหากเป็นมาตรฐาน

น้ำท่วมส่วนใหญ่เกิดจากฝนตกใหญ่ "ความเร็ว" น้ำที่ไหลลงมาเกินกว่าขีดจำกัด "ความเร็ว" การระบายน้ำออก น้ำเลยขังอยู่ในที่ที่เราไม่อยากให้มันขัง จุดสำคัญคือ "ขีดจำกัดของการระบายน้ำออก" นี่แหละ มันไม่ใช่ปัจจัยธรรมชาติ เป็นเรื่องการจัดการของคน ของหน่วยงานท้องถิ่นด้วย

ทุกปี จะมีเหตุการณ์ น้ำท่วม xxx ครั้งใหญ่ในรอบ 30 ปี โดย xxx เปลี่ยนไปเรื่อยๆ โดยไม่จำเป็นเลยว่าน้ำจะต้องมาจ่อท่วมกรุงเทพเหมือนปี 54

น้ำท่วมกรุงเทพปี 54 เป็นกรณียกเว้นของยกเว้น เกิดเพราะ "ปริมาณ" น้ำสะสมล้นเกิน น้ำไม่มีที่ไป ต่อให้ระบายได้เร็วก็ไม่รู้จะไประบายที่ไหน เพราะเขื่อน เพราะแม่น้ำใหญ่ล้นหมดแล้ว (ซึ่งไม่ใช่สถานการณ์ในปีนี้เลยนะ เราเชคข้อมูลน้ำในเขื่อนสะสม ก็ค่อนข้างเป็นไปตามมาตรฐาน)

น้ำท่วมเชียงรายแบบตอนนี้ต่างหากคือโมเดลของปัญหาน้ำท่วมจริงๆ เราไม่อยากท่องคาถา "กระจายอำนาจ" แต่มันมีส่วนสำคัญเลยล่ะ เพราะท้องถิ่นต่างๆ ต้องสามารถระบายน้ำให้ทันกับน้ำที่ตกลงมา หรือมี infrastructure ที่พร้อมรับมือกับเรื่องราวไม่คาดฝันได้ในทุกปี (ซึ่งอะไรแบบนี้ "ส่วนกลาง" อย่างเดียวทำไม่ได้หรอก)

เราไม่อยากให้คนคิดว่า "น้ำท่วมใหญ่" คือ "น้ำท่วมกรุงเทพปี 54" เพราะสุดท้ายพอมันไม่เป็นถึงขนาดนั้น เราก็สรุปกันว่า "ปีนี้น้ำไม่ท่วม" ซึ่งไม่ใช่เลย น้ำท่วมทุกจังหวัด ทุกปี ในรูปแบบที่แตกต่างออกไปเท่านั้นเอง”